จากการไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
เมื่อ 26 มกราคม 2561 ตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่ม A-11 เห็นว่า
ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโปรตุเกสของชุมชนซางตาครู้ส
ย่านกุฎีจีนเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษา เนื่องจาก ชุมชนชาวโปรตุเกสในประเทศไทย
ถือเป็นชุมชนชาวตะวันตกเพียงชุมชนเดียวที่ยังคงสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากครั้งสมัยอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน
ในขณะที่ชุมชนชาวตะวันตกอื่นๆ
หรือแม้แต่ชุมชนชาวญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
ความเป็นชุมชนได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงเป็นที่มาของคำถามการทำโครงงานที่ว่า
เงื่อนไขใดทางสังคมที่ส่งผลให้ชุมชนชาวโปรตุเกสในสังคมไทยยังคงรักษาลักษณะเด่นทางสังคม
สามารถธำรงไว้ซึ่งความสืบเนื่องทางวัฒนธรรม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมโปรตุเกสของชุมชนซางตาครู้สในย่านกุฎีจีน
วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561
ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา
ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง
ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์
คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้
เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน
วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
วัฒนธรรม
หมายถึง
แบบแผนและเป็นเครื่องกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละสังคมที่บ่งออกถึงความเจริญและความเสื่อม
ตลอดจนวิวัฒนาการความเป็นมา และการดำรงอยู่ของสังคม สังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นของคู่กัน
ประเทศใดมีวัฒนธรรมดีจะส่งผลต่อความเจริญของคนในสังคม
วัฒนธรรม
หมายถึง วิถีชีวิต (WAY
OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ
อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ
ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆ
วัฒนธรรม
มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมของกลุ่มดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง
ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสงระเบียบ กฎเกณฑ์วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการจัดระเบียบ
ตลอดจนระบบความ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ
โดยได้วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน
วัฒนธรรม
หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่ถือปฏิบัติหรือปรับเปลี่ยนสืบทอดกันมา
ตั้งแต่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานหรือส่วนที่เกี่ยวข้องได้ให้ความหมายไว้คล้ายคลึงกัน
วัฒนธรรม
โดยทั่วไปหมายถึง
รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ
วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น
ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม
แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์
เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา
ความสืบเนื่องของวัฒนธรรมโปรตุเกสในชุมชนซางตาครู้ส ย่านกุฎีจีน
1.จากการที่โปรตุเกสยึดครองมะละกาได้
ทำให้โปรตุเกสสามารถกุมอำนาจการค้าส่วนใหญ่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงได้ไว้
และด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวโปรตุเกสและวัฒนธรรมโปรตุเกสแพร่หลายเข้ามาในอยุธยามากขึ้น
กลุ่มทหารรับจ้างที่ได้เข้ามาอาศัยในอยุธยา
ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำสงคราม อาวุธทำสนธิสัญญาระหว่างสยามกับโปรตุเกส พ.ศ. 2059
อยุธยาได้ปืนใหญ่จากโปรตุเกสไว้ใช้สงคราม มีการจัดกองทหารอาสาโปรตุเกส
ปรับปรุงให้ทันสมัย มีทหารโปรตุเกสเป็นที่ปรึกษา สมัยพระไชยราชาธิราช ชาวโปรตุเกส
120 คน ร่วมศึกกับเชียงกราน เลยให้ชาวโปรตุเกสสร้างบ้านอยู่มั่นคง
เกิดชุมชนทหารอาสาและพ่อค้าโปรตุเกสครั้งแรก และถือเป็นเป็นครั้งแรกที่มีหมู่บ้านชาวโปรตุเกสอย่างเป็นรูปธรรมในสมัยอยุธยา
หมู่บ้านโปรตุเกสที่กรุงศรีอยุธยา
ถูกเผาทำลายลงในการทำสงครามเสียกรุงศรี เมื่อ 2310 อพยพกันไป
ส่วนหนึ่งไปเข้ารบกับกองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากหลักฐาน ยศทหารรับจ้างโปรตุเกส
ขุนฤทธิ์สำแดงเจ้ากรมซ้ายแห่ง กรมทหารฝรั่งแม่นปืน
สมัยธนบุรี
พระเจ้าตากสิน ก่อตั้งศาสนสถานชาวคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก บาทหลวงกอร์
ตั้งชื่อวัดเป็นภาษาโปรตุเกสว่า santa cruz แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์ การตั้งชุมชนโปรตุเกสสมัยธนบุรี
จึงประกอบด้วย ทหารโปรตุเกส ครอบครัวเชื้อโปรตุเกส และชาวตะวันตก
![]() |
ภาพชุมชนซางตาครู้สสมัยธนบุรี
|
![]() |
ภาพชุมชนซางตาครู้สในปัจจุบัน |
![]() |
โบสถ์ซางตาครู้ส |
คริสต์ศาสนา
การก่อตั้งชุมชนซางตาครู้สมีจุดเริ่มต้นจากการนับถือศาสนาคริสต์
นิกายโรมันคาทอลิก บาทหลวงกอร์ ชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้รวบรวมผู้นับถือศาสนาคริสต์และก่อตั้งวัดซางตาครู้สแห่งแรก ในปีพ.ศ.2312
จึงทำให้มีความสัมพันธ์กับศาสนาคริสต์
โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ดูแลสมาชิกในชุมชนเรื่อยมา
ศาสนาเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกทุกคนในชุมชนมีความรู้สึกบางอย่างร่วมกัน
โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ สัญชาติ ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นเอกภาพ
ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก
ในชุมชนซางตาครู้ส เป็นกลุ่มที่มีความเป็นเอกภาพ ท่ามกลางความหลากหลายทางชาติพันธุ์
และในปัจจุบันนี้ภายในบ้านเรือนแต่ละหลังของชุมชนก็ได้มีหิ้งบูชาและรูปเคารพคริสต์ศาสนาให้เห็น
และยังมีกิจกรรมทางคริสต์ศาสนาทุกวันสำคัญอยู่อย่างเสมอๆ
![]() |
ภาพของคริสต์ศาสนิกชนชาวซางตาครู้สที่ร่วมกิจกรรมทางศาสนาในโบสถ์ซางตาครู้ส
|
![]() |
รูปเคารพทางคริสต์ศาสนาที่ปรากฏในบ้านเรือนของชุมชน
|
กระแสชุมชนท้องถิ่นกับชุมชนซางตาครู้สในฐานะชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2551
เป็นปีที่มีการฟื้นฟูกิจกรรมภายในชุมชนท้องถิ่นโดยธรรมชาติการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมสมาคมสถาปนิกสยามฯ
ได้คัดเลือกพื้นที่ชุมชนย่านกุฎีจีน ที่มีความโดดเด่นในด้านความหลากหลายวัฒนธรรมทั้งสามศาสนาอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี
เริ่มต้นจากการนำเอาแนวคิดการจัดทำ "แผนที่มรดกวัฒนธรรมชุมชน"
มาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นชุมชนและแยาวชนให้เกิดความรัก
ความเข้าใจและหวงแหนมรดกวัฒนธรรม เกิดความเข้มแข็งของชุมชนในการเคลื่อนกิจกรรมทางวัฒนธรรมของตนเอง
จากนั้นก็เกิดกิจกรรมฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
ได้แก่ กิจกรรมการจัดงาน "กะดีจีน ศิลป์ตามตรอกครั้งที่ 1 และ 2" ในปี
พ.ศ. 2552-2553 รวมถึงกิจกรรมภาพถ่ายใต้แนวคิด "มรดกวัฒนธรรม สามศาสนา
ย่านกะดีจีน" เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พัฒนาและการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนย่านกุฎีจีน
ในปัจจุบัน
(2554) ลักษณะของชุมชนกุฎีจีนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อันประกอบด้วยองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์
การก่อตั้งชุมชนและมีความสืบเนื่องกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและโปรตุเกสซึ่งมีปราชญ์ชุมชนที่สืบทอดความรับรู้ของความเป็นไทยเชื้อสายโปรตุเกสถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้สมาชิกรุ่นหลังของชุมชน
หรือแม้กระทั่งขนมฝรั่งกุฎีจีน
สินค้าทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและแสดงถึงประวัติศาสตร์
ความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชนและที่สำคัญที่สุด
ศาสนสถานของวัดซางตาครู้สได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของบรรดาผู้นับถือและศรัทธาในคริสต์ศาสนา
![]() |
แผนที่การท่องเที่ยวย่านกุฎีจีน |
เงื่อนไขทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
หลังจากที่ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแล้ว
ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่างๆเข้ามาด้วย
และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ต่างกันทำให้เกิดการดัดแปลง
บูรณาการส่วนประกอบ หรือวัตถุดินพื้นถิ่นในไทยบางอย่าง
หรือแม้แต่นำอาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในไทยหลายชนชาติมาปรับใช้กับวัฒนธรรมเดิมของตน
วัฒนธรรมด้านอาหาร
1.ขนมจีนแกงไก่คั่ว
แต่เดิมนั้นในวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวโปรตุเกส
อาหารชนิดนี้เกิดการดัดแปลงมาจากสปาเกตตีไวท์ซอส
และเมื่อเข้ามาในไทยแล้วนั้นชาวโปรตุเกสได้นำเอาเส้นขนมจีน(จากมอญ)
และพริกแกงสีแดงกับกะทิ มาใช้แทนเส้นสปาเกตตีและไวท์ซอสตามลำดับ จึงเกิดเป็นอาหารของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่สืบทอดกันมา
นั่นคือ ขนมจีนแกงไก่คั่วนั่นเอง
2.แกงเหงาหงอด
แกงชนิดนี้มีลักษณะและรสชาติคล้ายกับแกงส้มของภาคกลาง
ซึ่งแต่เดิมนั้นวัตถุดิบหลักของเมนูนี้คือ ปลาสังกะวาด
แต่ต่อมาเมื่อย้ายถิ่นฐานหรือเวลาผ่านไป จึงใช้ ปลาเนื้ออ่อน แทนเนื่องจากหาง่ายและมีราคาที่ถูกกว่า
3.แกงบาฝาด
แกงชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับต้มจับฉ่าย
ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมชาวจีนที่อาศัยอยู่ในไทยเช่นกัน
โดยจะใส่ผักนานาชนิดลงในแกงพร้อมกับเนื้อสัตว์และต้มจนเปื่อยแล้วนำไปราดลงบนข้าวทันทีหลังจากที่แกงได้ที่แล้วซึ่งขั้นตอนนี้จะต่างจากต้มจับฉ่ายของจีน
และในปัจจุบันภายในชุมชนก็ยังมีบ้านที่คงเมนูดั้งเดิมเหล่านี้ไว้
รู้จักกันในนาม บ้านสกุลทอง ทั้งนี้บ้านสกุลทองได้รับจัดสำรับชาวโปรตุเกส
และเปิดสอนการทำอาหารเหล่านี้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการรักษาและถ่ายทอดนานาเมนูอาหารโปรตุเกสให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)